วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

การเปลี่ยนธีมให้กับเว็บไซต์

การเปลี่ยนธีมนี้ ถ้าหากเราเลือกธีมดีดี จะทำให้เว็บไซต์ Moodle ของเราดูสวยงามขึ้นเยอะเลย
ขั้นตอนการติดตั้งธีม
1.ดาวน์โหลดธีมจากอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างเว็บไซต์ดาวน์โหลดธีม


2.เมื่อดาวน์โหลดแล้ว จะได้ไฟล์ .zip (ไม่ต้องแตกไฟล์ แต่จำให้ได้ว่าบันทึกไว้ตรงไหน) แนะนำให้ไว้บน Desktop


3.เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ให้เข้าเว็บไซต์ในฐานะผู้ดูแลระบบ คลิกเมนูด้านซ้าย การจัดการระบบ>>>จัดการโมดูล>>>install add-ons (ตามลำดับ)


4.เลือก Plugin type เป็นรูปแบบเว็บ (theme) จากนั้นคลิก Choose file เพื่อเลือกไฟล์ธีมที่เราดาวน์โหลดไว้ในขั้นตอนแรก 

 5.จากนั้นคลิกเครื่องหมายถูก เพื่อยอมรับเงื่อนไขการติดตั้ง แล้วคลิก install add-ons the zip file
 6.จากนั้นโปรแกรมจะแสดงหน้าจอว่า ธีมนี้สามารถติดตั้งได้หรือไม่ หากขึ้นว่า Validation passd แสดงว่าสามารถติดตั้งได้ ให้คลิก install add-ons ได้เลย


7.เมื่อขึ้นหน้าจอนี้ ให้คลิกปุ่ม Update moodle database now
 8.จานนั้นคลิกขั้นต่อไป

9.เมื่อคลิกแล้วจะขึ้นหน้าจอให้ตั้งค่ารูปแบบธีมที่เราติดตั้ง ในขั้นตอนนี้เราไม่ต้องใส่ค่าไปก่อนก็ได้ คลิกบันทึกการเปลี่ยนแปลงได้เลยค่อยมาเปลี่ยนแปลงตอนหลังได้


แค่นี้เราก็ติดตั้งธีมให้กับเว็บไซต์ของเราเสร็จแล้ว แต่ธีมของเรายังไม่แสดงเราต้องไปเปลี่ยนค่าในรูปแบบเว็บอีกครั้งนึง การติดตั้งธีมนี้ ที่สำคัญอย่าลืมว่าธีมที่เราดาวน์โหลดมาติดตั้งจะต้องเข้ากันกับรุ่นของ Moodleด้วย (เว็บไซต์ที่ดาวน์โหลดจะมีบอกอยู่)

ขั้นตอนในการเปลียนรูปแบบธีม
1.เข้าเว็บไซต์ในฐานะผู้ดูแลระบบ จากนั้นคลิกเมนูด้านซ้าย เลือก การจัดการระบบ>>>การแสดงผลของเว็บ>>>รูปแบบเว็บ>>>เลือกรูปแบบเว็บ


2.จะขึ้นหน้าจอด้านล่างให้คลิก Change theme
3.จากนั้นหาธีมที่เราได้ตั้งติดลงไปในขั้นตอนแรก แล้วคลิก Use theme



เว็บไซต์ของเราก็จะเปลี่ยนเป็นธีมที่เราติดตั้งตามภาพด้านล่าง


การเปลี่ยนธีมให้กับเว็บไซต์นี้ จะทำให้เว็บของเรา ดูเปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบใหม่ โดยไม่ต้องตั้งค่าอะไรมาก สะดวกสำหรับการใช้งานมากครับ


Read more ...

การอนุมัติสมาชิกผ่านอีเมล์

        การอนุมัติสมาชิกผ่านอีเมล์นี้ จรองๆก็คือการอนุญาติให้ผู้เรียนสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ได้ คามปกติค่าเดิมของ moodle ผู้เรียนไม่สามารถสมัครสมาชิกเองได้ ผู้สอนหรือผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่จะเป็นผู้เพิ่มสมาชิกเว็บไซต์ ซึ่งจะเห็นได้จากภาพด้นล่าง ซึ่งไม่มีเมนูในการสมัครสมาชิกเว็บไซต์

ขั้นตอนในการอนุมัติให้นักเรียนสมัครสมาชิกได้ด้วยตัวเองมีดังนี้
1.เข้าสู่ระบบในฐานะผู้ดูแลระบบ คลิกเมนูการจัดการระบบด้านซ้าย การจัดการระบบ >>>จัดการโมดูล>>>การอนุมัติ>>>จัดการวิธีการอนุมัติ  (ตามลำดับ) หากใครเว็บไซต์ยังไม่เป็นภาษาไทย สามารถเปลี่ยนได้ จากลิงค์นี้


2.จะเข้ามาในหน้า จัดการวิธีอนุมัติ เลื่อนลงมาด้านล่าง

3.หาเมนู Self registration ให้เลือกที่ การอนุมัติผ่านอีเมล์


4.เมื่อเลือกแล้ว ให้กดบันทึกการเปลี่ยนแปลง


5.จากนั้นให้ออกจากระบบ แล้วเข้าสู่ระบบดู ว่าหน้าการเข้าสู่ระบบ มีเมนูให้สมัครสมาชิกหรือไม่ ถ้ามี (ตามภาพ) แสดงว่าการอนุมัติการสมัครสมาชิกมีผลสมบูรณ์



การสมัครสมาชิกเว็บไซต์ของผู้เรียนนี้ เมื่อสมัครเสร็จ จะยังไม่สามารถใช้งานได้ ผู้เรียนต้องไปยืนยันการสมัครสมาชิกผ่านอีเมล์ก่อน จึงสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้

Read more ...

การเปลี่ยน Moodle ให้เป็นภาษาไทย

       เมื่อเราติดตั้ง Moodle เสร็จ ค่าเดิมของมันจะเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้ใช้งานยาก (สำหรับบางคน) เราลองมาดูวิธีเปลี่ยนการตั้งค่าให้เป็นภาษาไทยกันดูนะครับ
ขั้นตอนการเปลี่ยน Moodle ให้เป็นภาษาไทย
1. Login เข้าสู่ระบบ ในฐานะผู้ดูแลระบบ


2.ตัวอย่างด้านล่าง จะเป็นของผมนะครับ ผมตั้งชื่อ User ว่า admin และรหัสผ่าน คือ ...(จะบอกทำไม)

3.เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้คลิกแถบเมนูด้านซ้าย ตรง Site administration >>>Language>>>Language packs ตามภาพครับ


4.จะได้หน้าจอดังภาพด้านล่าง ให้เราคลิกหาภาษาไทย จากกล่องเมนูด้านขวา จากนั้นคลิก install selects language packs


5.จะขึ้นตัวอักษรสีเขียน แสดงการติดตั้งภาษาไทย เสร็จสมบูรณ์ ให้เราคลิก update all installed ...


6.เมื่อคลิกเสร็จแล้ว ลองกลับมาที่หน้าแรก ตรงมุมขวา จะมีตัวเลือกภาษาไทยมาให้เราเลือก เราก็คลิกเลืกภาษาไทย
7.เว็บไซต์ moodle ของเราก็จะเป็นภาษาไทยดังภาพ (จริงๆจะไม่ได้เป็นภาษาไทยทั้งหมดนะครับ ขึ้นอยู่กับตัวภาษาไทยว่ารองรับเมนูแค่ไหน จากที่ได้ลองใช้ก็จะมีบางเมนูที่ยังเป็นภาษาอังกฤษ


การติดตั้งภาษาไทยนี้ จะยังไม่เป็นค่าเริ่มต้นให้เว็บของเรา เราจะต้องเข้าไปแก้ไขค่าในเมนูของ Language อีกครั้ง เดียวจะอัพเดทให้ดูในโอกาสต่อไปครับ

Read more ...

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การติดตั้ง Joomla บน Hostinger

        การติดตั้ง joomla บน Hostinger ก่อนการติดตั้งเราต้องทำการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ก่อน หากยังไม่ได้สมัครสมาชิกก็สมัครได้ จากลิงค์นี้ หากสมัครสมาชิกแล้วก็ทำการติดตั้ง joomla ได้ตามขั้นตอนการติดตั้งด้านล่าง (มองไม่ชัดให้คลิกที่ภาพ เพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
ขั้นตอนการติดตั้ง joomla ผ่าน Hostinger 
1.เข้าสู่ระบบ จากลิงค์นี้ หากเข้าสู่ระบบไว้แล้ว จะขึ้นหน้าจอตามภาพ ให้คลิกเลือก เมนูโฮสติงด้านบน และเลือกเว็บไซต์ที่เราสมัครไว้


2.จะขึ้นหน้าจอตามภาพด้านล่างนี้ ให้เราเลื่อนลงมาด้านล่าง หาเมนูที่เขียนว่า โปรแกรมติดตั้งอัตโนมัติ


3.คลิกที่เมนูติดตั้งอัตโนมัติ


4.หน้าต่อมาจะขึ้นให้เลือกว่าเราจะติดตั้ง โปรแกรมอะไร ในกรณีให้คลิกเลือกที่ Joomla


5.จากนั้นกรอกรายละเอียดข้อมูลให้เรียบร้อย รหัสผู้ใช่กับรหัสผ่าน หมายถึงรหัสผ่านที่ใช้ในการเข้าสู่ระบบของ joomla เมื่อกรอกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่มติดตั้ง


6.เมื่อคลิกปุ่มติดตั้ง จะขึ้นหน้าจอให้รอ ให้เรารอประมาณ 5 นาที แล้วกด F5 ได้เลย เพราะถ้าไม่กดโปรแกรมจะค้างอยู่หน้านี้ตลอด


7.เมื่อกด F5 จะขึ้นหน้าจอตามภาพด้านล่าง เป็นอันว่าการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์


8.หากต้องการดูรายละเอียดให้คลิกที่ รายละเอียดบัญชี จะขึ้นหน้าจอตามภาพด้านล่าง สามารถเข้าสู่หน้าเว็บ Joomla จากเว็บด้านล่างได้เลย 


การติดตั้ง joomla ผ่าน hostinger สามารถใช้งานได้เกือบ 100 เปอร์เซ็น เพราะโปรแกรมไม่หนักมาก แต่ถ้าติดตั้ง moodle จะค่อนข้างมีปัญหา เพราะโปรแกรม moodle จะค่อนข้างหนักโฮส
***มีอะไรสงสัยโพสถามด้านล่างได้ครับ
Read more ...

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

การสมัครสมาชิกเว็บฟรีโฮสติ้ง #ให้พื้นที่ใช้งานถึง 2 GB

      เว็บโฮสติ้งที่จะแนะนำนี้ คือเว็บ Hostinger.com เป็นเว็บโฮสติ้งให้ใช้งานฟรี 2 GB และมีเเพคเกจแบบ Unlimited เกือบทุกอย่าง ประมาณเดือนละ 100 กว่าบาท (แต่ถ้าเป็นช่วงโปรโมชัน จะลดอีก ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็น) ข้อดีของเว็บโฮสติ้งนี้ คือสามารถติดตั้ง CMS ได้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น joomla drupal wordpress และที่สำคัญสามารถติดตั้ง moodle แบบอัตโนมัติได้ด้วย รวมๆแล้วติดตั้งได้อัตโนมัติ เกือบ 100 ตัว (แค่คลิกเพียงไม่กี่ครั้ง) สำหรับครั้งนี้จะแนะนำการสมัครสมาชิกเพียงอย่างเดียว สำหรับการติดตั้ง moodle จะแนะนำในโอกาสต่อไป
ขั้นตอนการสมัครสมาชิก
1.คลิก สมัครสมาชิกที่นี้ หรือคลิกที่ภาพด้านล่าง

Free Hosting

2.เมื่อเข้าเว็บจะเจอหน้านี้ ให้กดที่ปุ่มสั่งซื้อ


3.กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อย แล้วกดปุ่มสร้างบัญชี
  - อย่าลืมติกยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการด้วยนะครับ
  - อีเมล์ที่ใช้ต้องเป็นอีเมล์ที่ใช้งานได้จริงๆนะครับ เพราะทางเว็บจะให้เราเข้าไปยืนยันอีเมล์

4.เมื่อสร้างบัญชีเรียบร้อยแล้ว จะได้หน้าจอตามภาพ หลังจากนี้ให้เราไปยืนยันบัญชี ในอีเมล์ที่เราใช้ในการสมัคร ทางเว็บจะส่งลิงค์ยืนยันไปให้


5.เมื่อยืนยันอีเมล์เรียบร้อยแล้ว ต่อมาเป็นขั้นตอนในการสร้างบัญชีเว็บไซต์ (สร้างโดเมนเพื่อใช้งานเว็บ ) คลิกเมนูด้านบน เลือกที่สร้างบัญชี


6.คลิกเลือกเเพคเกจ ให้เลือกแพคเกจฟรี (หรือใครจะสมัครเป็นแบบจ่ายตังค์ก้ได้นะครับ) โดยคลิกที่ปุ่มสั่งซื้อ


7.จากนั้นกรอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโดเมนเนม 
    - ประเภทโดเมนเลือกเป็นโดเมนย่อย (จะฟรี)
    - โดเมนย่อย ให้พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการจะตั้ง
    -  รหัสผ่านให้ใส่รหัสผ่านตอนที่สมัครในขั้นตอนแรก
    -  คลิกดำเนินการต่อ



ด้านล่างนี้จะเป็นโดเมนย่อยที่เราสามารถเลือกเปลี่ยนได้


8.ต่อไปเป็นการยืนยันการสั่งซื้อ กรอก Captcha ให้เรียบร้อย และติิกยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการ ขากนั้นกดปุ่มสั่งซื้อ


9.หากได้หน้าจอดังภาพด้านล่าง แสดงว่าการสมัครสมาชิกมีผลสมบูรณ์


สำหรับการติดตั้งmoodle บน hostinger จะแนะนำในโอกาสต่อไปครับ อย่าลืมสมัครไปใช้งานกันดูนะครับ
หมายเหตุ
     - การสมัครสมาชิกบางครั้งต้องรอหลายนาที หลังการสมัครเสร็จ วิธีเช็คว่าเว็บไซต์ที่เราสมัครสามารถใช้งานได้หรือไม่ ให้พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เราสมัคร เช่น test.esy.es (ตามที่เราสมัคร) ถ้าขึ้นหน้าจอแบบภาพด้านล่าง แสดงว่าใช้งานได้แล้ว แต่หากยังไม่ขึ้น ต้องรอก่อน ห้ามดำเนินการใดๆทั้งสิน


Free Hosting
Read more ...

การติดตั้ง moodle ผ่าน Xampp

       เมื่อสามารถติดตั้ง และเรียนรู้การใช้งาน xampp กันมาแล้ว ต่อไปเป็นการติดตั้งใช้งานเว็บไซต์การจัดการเรียนการสอน moodle เป็นการติดตั้ง moodle เพื่อทดลองใช้งานที่เครื่องของเราเอง ไม่สามารถใช้งานแบบออนไลน์ได้
ขั้นตอนการติดตั้ง
1.โหลดไฟล์ติดตั้ง moodle ดาวน์โหลดที่นี้


2.เมื่อได้ไฟล์มาแล้ว (ไฟล์ zip) ให้ทำการแตกไฟล์ไว้บน Desktop จากนั้นย้ายไฟล์ หรือก๊อปไฟล์ไปไว้ในโฟลเดอร์ htdocs ของ xampp (ไดร์ C >xampp>htdocs)

***ชื่อโฟล์เดอร์จะเปลี่ยนหรือไม่ ตามแต่สะดวก แต่จะมีผลกับการเรียกใช้งาน

3.เปิดโปรแกรม Xampp


4.เปิดเว็บบราวเซอร์ พิมพ์ localhost เพื่อเรียกใช้งาน xampp ซึ่งก่อนการติดตั้ง moodle เราจำเป็นต้องสร้างฐานข้อมูล เพื่อใช้งานกับเว็บ moodle ก่อน (ถ้าขึ้นหน้าแบบนี้ ให้เลือกภาษาที่จะใช้งาน


5.สร้างฐานข้อมูลโดยคลิกที่ php myadmin (ตรงแถบเมนูด้านซ้าย)


6.จะขึ้นหน้าตาเป็นแบบนี้ ให้เราคลิกที่ฐานข้อมูล


7.พิมพ์ชื่อฐานข้อมูล (แล้วแต่จะตั้ง ตามตัวอย่างตั้งว่า moodle) และเลือกรูปแบบเป็น utf8 แล้วกดปุ่มสร้าง


8.เมื่อดำเนินการสร้างฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้จะเป็นการติดตั้ง moodle โดยพิมพ์ตรงช่อง URL ว่า http://localhost/ชื่อโฟล์เดอร์ที่เราตั้ง (ของผมตั้งว่า moodle ก็จะเป็น http://localhost/moodle)

9.เลือกภาษาที่จะติดตั้ง แล้วกดต่อไป

10.หน้านี้ ไม่ต้องทำอะไร กดต่อไปเลย

11.หน้านี้จะเป็นการเลือกประเภทของฐานข้อมูล กดต่อไปได้เลย

12.หน้านี้จะเป็นรายละเอียดของฐานข้อมูลที่เราสร้าง
     โดยให้กรอกข้อมูลดังนี้
      Database host : localhost 
      Database name : moodle (พิมพ์ตามที่เราตั้ง ตอนสร้างฐานข้อมูล)
      Database user : root
      Database password : ปกติจะเป็นค่าว่าง
      ที่เหลือไม่ต้องแก้ไข กดต่อไปได้เรย

13.จะขึ้นหน้าลิขสิทธิ์ ให้กดต่อไป

14.หน้านี้จะเป็นหน้าแสดงรายละเอียดต่างๆที่จำเป็นในการติดตั้งโปรแกรม ถ้าไม่ขึ้นเตือนอะไรเป็นสีแดง ก็ดำเนินการต่อไปได้เรย


15.ภาพด้านล่างจะเป็นภาพแสดงว่า moodle กำลังดำเนินการติดตั้งอยู่ รออย่างเดียวครับ อาจจะนานหน่อยบางเครื่องเป็นครึ่งชั่วโมง

16.เมื่อเสร็จแล้วคลิกขั้นต่อไป

17.จะเป็นหน้าจอให้เราใส่รายละเอียด user ในการเข้าสู่ระบบ กรอกให้ครบแล้วกดปุ่มอัพเดทประวัติส่วนตัว สำหรับรหัสผ่านในการใข้งาน moodle จะค่อนข้างยากนิดนึง คือต้องตั้งให้มีทั้งตัวอักษรพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และสัญลักษณ์ ตัวอย่าง Ppp_111

 18.ถ้าขั้นตอนการติดตั้งไม่มีอะไรผิดพลาด จะขึ้นหน้าจอดังภาพด้านล่าง


เสร็จเรียบร้อยครับ สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง moodle ขั้นตอนอาจจะเยอะนิดนึงนะครับ แต่ส่วนใหญ่ก็มีแต่ next next next คล้ายๆกับการติดตั้งโปรแกรมทั่วไปครับ
Read more ...